ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง สูตรหลอดเลือดสมอง หัวใจ  (อ่าน 102 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 241
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย
    • ดูรายละเอียด
อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง สูตรหลอดเลือดสมอง หัวใจ

การให้อาหารทางสายยาง อาหารสุขภาพ เป็นการให้อาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลว ที่สามารถไหลผ่านสายให้อาหารได้ง่ายอย่างไม่ติดขัด เป็นการให้อาหารสำหรับผู้ป่วย ที่่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือไม่สามารถกลืนอาหารเองได้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารของผู้ป่วย จึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารทางสายยางให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย เพื่อจะได้มีพลังงาน

สำหรับอาหารปั่นผสม จะต้องมีการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการเพื่อให้อาหารปั่นผสมที่ผู้ป่วยจะได้รับ ได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีคุณค่าทางอาหารที่ดีที่สุด โดยสูตรอาหารแต่ละสูตร ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ทั้งหมด นักโภชนาการจะต้องออกแบบสูตรอาหารตามโรคและอาการป่วยของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพ้อาหารของผู้ป่วยด้วย

รวมไปถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วยที่จะต้องได้รับอาหารปั่นผสม และต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารปั่นผสม จะต้องถูกกับโรคของผู้ป่วยด้วย เพราะสารอาหารบางอย่าง ถ้าได้รับเป้นจำนวนมากหรือน้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ เพราะฉะนั้นอาหารปั่นผสมจะมีสูตรของแต่ละโรค เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นของผู้ป่วยที่ได้รับอาหาร วันนี้เราจะมาแนะนำสูตรอาหารปั่นผสม สูตรหลอดเลือดสมอง/หัวใจ ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ต้องได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และต้องควบคุมเรื่องของอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเสมอ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะสามารถช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุ

สำหรับอาหารปั่นผสม สูตรหลอดเลือดสมอง/หัวใจ ใช้วัตถุดิบคือ ไข่ขาว (ไข่ไก่) 1 ขีด อกไก่บด 1 ขีด 20 กรัม กล้วยน้ำว้าสุก 1 ขีด ฟักทอง 1 ขีด ข้าวต้ม 1 ขีดครึ่ง น้ำตาล 70 กรัม น้ำมันถั่วเหลือง 3 ช้อนชา เกลือป่น1/2 ช้อนชา น้ำสะอาด 700 ซีซี โดยวัตถุดิบทุกอย่างจะต้องนำไปผ่านกระบวนการให้สุกเสียก่อน และวัตถุดิบที่เตรียมในแต่ละครั้ง ควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง การเก็บไว้นานๆ อาจจะทำให้อาหารนั้นเสียได้

หากนำไปให้ผู้ป่วยอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสีย หรืออาเจียนได้ และอาจจะทำให้เกิดอันตายต่อผู้ป่วยได้ และผู้ดูแลและผู้ที่ทำการปรุงอาหารจะต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งในการทำอาหารและการให้อาหารผู้ป่วย