ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Nasal Septum)  (อ่าน 78 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 240
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Nasal Septum)
« เมื่อ: วันที่ 24 ตุลาคม 2024, 15:20:42 น. »
Doctor At Home: ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Nasal Septum)

ผนังกั้นช่องจมูกคด (deviated nasal septum) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย อาจจะทำให้มีอาการหรือไม่มีอาการทางจมูกก็ได้ ประมาณร้อยละ 90 ของผนังกั้นช่องจมูกของคนปกติมักไม่ตรง ถ้าผนังกั้นช่องจมูกที่คดนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้ผนังกั้นช่องจมูกคด ได้แก่ ความผิดปกติของการเจริญของผนังกั้นช่องจมูกแต่กำเนิด หรือ เกิดจากอุบัติเหตุได้รับแรงกระแทก


อาการ

          1. คัดจมูก (nasal obstruction)    ผู้ป่วยมักมีอาการคัดจมูกข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบ อาจมีอาการคัดจมูกชัดเจนขึ้นเมื่อเป็นหวัด หรือเยื่อบุจมูกบวมอักเสบ     ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคัดจมูกข้างตรงข้ามกับข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่กว้างได้ เนื่องจากเยื่อบุจมูกข้างดังกล่าวนั้นมีการบวมขึ้นมา เพื่อไม่ให้อากาศไหลผ่านมากและเร็วเกินไป (compensatory inferior turbinate hypertrophy)

          2. เลือดกำเดาไหล (epistaxis) ผู้ป่วยมักมีเลือดกำเดาไหลข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบ เนื่องจากข้างที่แคบนั้น มีลมหายใจหรืออากาศผ่านเข้า-ออกมากและเร็วกว่า ทำให้เยื่อบุจมูกแห้งมาก   ทำให้เกิดสะเก็ด และมีเลือดออกได้ง่าย

          3. อาการปวด (nasal pain)  ถ้าผนังกั้นช่องจมูกที่คด ไปสัมผัสกับเยื่อบุจมูกอีกฝั่ง (septoturbinal contact) อาจกดทับเส้นประสาทรับความรู้สึก (maxillary branch of trigeminal nerve) ทำให้เกิดอาการปวดจมูกข้างนั้นได้

 
อาการแสดง และการตรวจพิเศษ

ถ้าใช้ไม้กดลิ้นที่เป็นโลหะมันวาวมาวางที่ด้านหน้าของจมูก แล้วให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก เพื่อดูขนาดของลมหายใจบนไม้กดลิ้น (rhinohygrometry)  อาจพบว่าลมหายใจข้างที่ผนังกั้นช่องจมูกคดไปนั้น มีขนาดเล็กกว่าอีกข้าง การตรวจโพรงจมูกทางด้านหน้า (anterior rhinoscopy)  สามารถทำได้โดยใช้ otoscope  และ ear speculum ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่สามารถใส่เข้าไปในโพรงจมูกได้ จะเห็นว่ามีผนังกั้นช่องจมูกคดไปด้านใดด้านหนึ่งได้  การส่องกล้องตรวจในโพรงจมูก (nasal endoscopy) อาจช่วยวินิจฉัยแยกโรคจากโรคอื่นๆที่ทำให้มีอาการคัดจมูก หรือตรวจส่วนที่คดตอนกลางของโพรงจมูกซึ่งไม่อาจเห็นชัดด้วยการตรวจด้วยตาเปล่า  นอกจากนั้น อาจใช้เครื่องมือตรวจวัดความต้านทานของโพรงจมูก (active anterior rhinomanometry) ว่ามีอาการอุดตันของโพรงจมูกหรือไม่  เป็นข้างใดมากกว่ากัน


การรักษา

          1. การใช้ยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทาน และยาสเตียรอยด์พ่นจมูก  อาจลองใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก และรับประทานยาหดหลอดเลือด (oral decongestant เช่น pseudoephedrine) ก่อน อาจทำให้อาการคัดจมูกดีขึ้นได้ เนื่องจากยาทั้ง 2 ชนิดจะทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวมได้

          2. การผ่าตัด (septoplasty) มักจะทำในรายที่ผนังกั้นช่องจมูกคด ทำให้เกิดอาการคัดจมูก   และได้ลองใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก และยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทานแล้วอาการคัดจมูกไม่ดีขึ้น หรือผนังกั้นช่องจมูกคดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน การผ่าตัดจะเป็นการแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกที่คดให้ตรง

 
โรคแทรกซ้อน

          1. ริดสีดวงจมูก  (nasal polyp) เนื่องจากอากาศผ่านข้างที่ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบด้วยความเร็วและแรงกว่าอีกด้าน จะทำให้เยื่อบุจมูกข้างดังกล่าวบวมได้ง่าย และอาจเกิดเป็นริดสีดวงจมูกได้

          2. ไซนัสอักเสบ  (rhinosinusitis) ผนังกั้นช่องจมูกที่คด อาจทำให้การไหลเวียนของอากาศและสารคัดหลั่งของไซนัสข้างที่แคบน้อยลง อาจทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบได้ง่าย  ในรายที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด และให้การรักษาไซนัสอักเสบแล้วไม่ดีขึ้น หรือเป็นๆ หายๆ อาจต้องพิจารณาผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกที่คดนั้นด้วย

          3. โรคของหูชั้นกลาง  เนื่องจากเยื่อบุจมูกข้างที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือข้างที่แคบ จะบวมได้ง่าย  อาจส่งผลไปยังรูเปิดของท่อยูสเตเชียนซึ่งเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูกได้ เนื่องจากเยื่อบุจมูกและโพรงหลังจมูกต่อถึงกัน ทำให้เยื่อบุรอบรูเปิดของท่อยูสเตเชียนบวม  ทำให้ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (eustachian tube dysfunction)  อาจมีอาการหูอื้อ  เสียงดังในหูข้างเดียวกับที่มีผนังกั้นช่องจมูกคดได้